แนวทางการอนุรักษ์ปะการัง

download (1)

download

จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของการพัฒนาบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทย และกิจกรรมการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆในแนวปะการังที่เพิ่มมากขึ้นได้ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อคุณค่าทางธรรมชาติและระบบนิเวศของแหล่งปะการังดังนั้นสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมจึงได้มีการประสานความร่วมมือจากหน่วยงามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ
เกี่ยวข้องในการจัดทำ
1. มาตรการเร่งด่วนการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลด้านป่าชายเลนและปะการังซึ่งมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
1.1การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีปะการังจังหวัดรับผิดชอบดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความร่วมมือในการประกาศเขตรักษาพืชพันธุ์
1.2 การป้องกันการทำลายปะการังและการประชาสัมพันธ์โดยกรมประมง กรมป่าไม้ กองทัพเรือ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และจังหวัดรับผิดชอบดำเนินการ
มาตรการเร่งด่วนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2534
2. แผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล จังหวัดภูเก็ต บริเวณหาดป่าตอง กะรน กะตะ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จะมีแผนการจัดการปะการังรวมอยู่ด้วย
3. นโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2535 สาระสำคัญมีดังนี้
3.1 ให้มีการจัดการปะการังโดยสอดคล้องกับคุณค่าทางนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างกิจกรรมการใช้ประโยชน์ต่างๆ
3.2 ลดและป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของปะการัง
3.3 สนับสนุนให้มีการคุ้มครองปะการังเพื่อผลประโยชน์ยั่งยืน
3.4 ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการคุ้มครองปะการัง
นอกจากการดำเนินงานของรัฐภายใต้แผนแม่บทฯ ดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2535 เห็นชอบด้วยกับแผนปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งแผนดังกล่าวได้กำหนดให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอนุรักษ์ปะการัง โดยการติดตั้งทุ่นผูกเรือ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนโดยทั่วไปรับทราบ และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ปะการัง ดังนั้น ประชาชนในท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรควรรวมตัวกันเพื่อดูแลรักษาแนวปะการังของท้องถิ่นตนไว้ให้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป ซึ่งมีวิธีการต่างๆ คือ
1. ผูกจอดเรือกับทุ่นผูกเรือ และไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง
2. ทำเครื่องหมายแสดงแนวปะการัง เพื่อมิให้เรือเข้ามาในแนวนั้น
3. ห้ามการประมงอวนลาก อวนรุน เข้ามาจับปลาบริเวณชายฝั่งที่มีแนวปะการัง
4. กวดขัน สอดส่องมิให้มีการระเบิดปลาโดยเด็ดขาด
5. ช่วยกันส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของการรักษาธรรมชาติของปะการัง เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
6. ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นจะต้องไม่เก็บหาปะการังขึ้นมาขาย
7. นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล

Leave a comment